ฝันร้าย ไม่ใช่เรื่องปกติ แต่เป็นสัญญาณเตือนปัญหาการนอนหลับ และปัญหาสุขภาพที่ต้องระวัง !

ฝันร้าย มีผลเสียอะไรบ้างต่อการนอนหลับ

ฝันร้าย 

ฝันร้าย (Nightmare) ถือเป็นหนึ่งในปัญหาการนอนหลับที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน แม้คนไทยจะมีความเชื่อว่าฝันร้ายเป็นลางบอกเหตุต่างๆ หรือปลอบใจตัวเองว่าฝันร้ายกลายเป็นดี แต่ในทางวิทยาศาสตร์ฝันร้ายกับเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาทางด้านสุขภาพ โดยเฉพาะด้านจิตใจ บางคนฝันร้ายทุกคืนและสะดุ้งตื่นกลางดึกบ่อยๆ จนทำให้นอนไม่หลับและพักผ่อนไม่เพียงพอ ซึ่งเป็นบ่อยๆ ก็อาจจะส่งผลเสียร้ายแรงต่อสุขภาพและการใช้ชีวิตได้

เลือกอ่านหัวข้อที่สนใจ 👇 แสดง

ฝันร้าย คืออะไร ?

ฝันร้าย คือ ภาวะการนอนหลับแล้วฝันเรื่องไม่ดี ซึ่งเกิดจากการตอบสนองทางอารมณ์ในเชิงลบ เหตุการณ์ในความฝันทำให้รู้สึกระทึก วิตกกังวลหรือรู้สึกหวาดกลัวแบบรุนแรง โดยฝันร้ายมักเกิดขึ้นตอนใกล้ตื่น ส่วนใหญ่มักเกิดกับผู้ที่มีความเครียดเป็นประจำ ลักษณะของฝันร้ายนั้นมีอยู่หลายแบบ เช่น ฝันร้ายเหมือนจริง ฝันร้ายสะดุ้งตื่น หรือฝันร้ายจนร้องไห้ ฯลฯ ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายและจิตใจของแต่ละคน

ฝันร้ายเกิดจากอะไร ?

คำถามต่อมาที่หลายคนมักสงสัยก็คือ ทำไมถึงฝันร้าย มีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำฝันร้ายตอนนอน เพื่อจะได้หาทางป้องกันและหลีกเลี่ยง ซึ่งสาเหตุของการนอนฝันร้าย จะมีดังนี้

1.ทานอาหารก่อนเข้านอน 

ฝันร้ายมักเกิดกับคนที่ทานอาหารหรือกินขนมก่อนเข้านอนเนื่องจากการรับประทานอาหารก่อนนอนนั้นส่งผลให้การทำงานของระบบเมตาบอลิซึมในร่างกายเพิ่มขึ้นจึงไปกระตุ้นให้สมองเกิดการตื่นตัวมากกว่าเดิม ดังนั้น ไม่ควรรับประทานอาหารหรือขนมแล้วนอนทันทีควรเว้นระยะสัก 1-2 ชั่วโมง นอกจากจะไม่ฝันร้ายแล้วยังไม่เป็นโรคอ้วนด้วย

2.ผลข้างเคียงจากการกินยา 

การที่คุณนอนหลับแล้วฝันร้าย สาเหตุอาจมาจากผลข้างเคียงในการรับประทานยาบางชนิด หรือยาที่ใช้รักษาโรคบางอาการก็อาจมีผลทำให้เกิดฝันร้ายได้ เนื่องจากส่วนประกอบของยาอาจไปทำปฏิกิริยากับสารเคมีในสมอง เช่น ยาที่ใช้รักษาโรคซึมเศร้า ยานอนหลับ ยาระงับอาการปวดที่มีฤทธิ์เสพติดหรือยาลดความดันโลหิต เป็นต้น

ฝันร้ายเกิดจากการใช้ยาบางชนิด หรือผลข้างเคียงจากยารักษาโรค

3.มีปัญหาสุขภาพจิต 

สาเหตุที่ทำให้ฝันร้ายเป็นอันดับ 1 ก็คือการประสบปัญหาสุขภาพจิต ไม่ว่าจะเป็นความเครียดหรือความวิตกกังวลต่างๆ มีผลทำให้ฝันร้ายสูงถึงร้อยละ 60 เปอร์เซ็นต์ ปัญหาสุขภาพจิตที่ทำให้ฝันร้าย เช่น โรคซึมเศร้า ผู้ที่มีภาวะเครียดหรือเจอเหตุการณ์สะเทือนขวัญในชีวิตจริง ส่วนมากมักฝันร้ายซ้ำๆ 

4.โรคเกี่ยวกับการนอน 

หากคุณพบว่าตัวเองไม่ได้มีความเครียดใดๆ ไม่ได้ทานอาหารก่อนนอนหรือไม่มีปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้ฝันร้ายแต่ก็ยังฝันร้ายทุกคืนอาจเกิดจากการป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับการนอน อย่างเช่น ภาวะหยุดหายใจในขณะนอนหลับ นอนกระตุก หรือนอนละเมอ เป็นต้น ผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับการนอนมีความเสี่ยงที่จะเกิดฝันร้ายเรื้อรังได้

5.พักผ่อนไม่เพียงพอ 

ฝันร้ายเกิดจากพักผ่อนไม่เพียงพอ การที่เรานอนพักผ่อนไม่เพียงพอ อาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ฝันร้ายได้เช่นเดียวกัน ในแต่ละวันร่างกายของเราควรได้รับการพักผ่อน 7-8 ชั่วโมง อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการชี้ชัดว่าการนอนน้อยทำให้เกิดฝันร้ายและส่งผลเสียต่อสุขภาพแต่ทางที่ดีเราควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ 

บทความอื่นที่น่าสนใจ: 

👉 การนอนที่ถูกต้อง คนเราควรนอนกี่ชั่วโมง ถึงจะดีที่สุดและเพียงพอต่อร่างกาย

👉 นอนเยอะเกินไป แต่ยังง่วง มีสาเหตุมาจากอะไร ผลเสียของการนอนมากไปมีอะไรบ้าง?

6.การใช้สารเสพติด 

การใช้สารเสพติดมีผลโดยตรงต่อระบบประสาท อาจทำให้ฝันร้ายได้ในทุกๆ คืนได้ เกิดอาการหลอนประสาท นอกจากนั้นผู้ที่ถอนยารักษาโรคบางอย่างหรือคนที่เลิกเหล้า ตลอดจนมีสารที่มีฤทธิ์ระงับประสาทก็อาจเกี่ยวเนื่องกับการฝันร้ายได้หากฝันร้ายบ่อยๆ ควรปรึกษาแพทย์ 

7.พฤติกรรมการนอนที่ไม่เหมาะสม

อีกหนึ่งสาเหตุของการเกิดฝันร้ายตอนกลางคืน ก็คือ พฤติกรรมการนอนที่ไม่ดีหรือไม่เหมาะสม เช่น การนอนดึก นอนหลับไม่เป็นเวลา รวมไปถึงการนอนในท่าที่ไม่เหมาะสม เพราะพฤติกรรมเหล่านี้นอกจากจะทำให้สมดุลการนอนของเราไม่ดี นอกจากจัส่งผลให้ร่างกายเกิดอาการเครียด จนเกิดฝันร้ายบ่อยๆ แล้ว การนอนในท่าที่ไม่เหมาะกับสรีระร่างกาย ก็อาจทำให้มีโอกาสได้รับบาดเจ็บ หรือปวดตามส่วนต่างๆ ของร่างกายได้นั่นเอง

📌 คลิกอ่านเพิ่มเติม: รวม 9 ท่านอนที่ถูกต้อง เสริมสุขภาพการนอนหลับ นอนท่าไหนดีที่สุด ? ช่วยให้หลับสบายมากขึ้น

ฝันร้ายมักเกิดขึ้นในช่วงไหนของการนอนหลับ

ฝันร้ายเป็นภาวะที่มักเกิดขึ้นในช่วงหลับลึกหรือช่วง REM Sleep (Rapid Eye Movement) ซึ่งเป็นช่วงของการนอนหลับที่มักเกิดการฝัน โดยช่วงนี้จะฝันเป็นเรื่องเป็นราว มักเกิดขึ้นช่วงหลังของระยะการนอน จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ฝันบ่อยในช่วงเช้ามืด การฝันร้ายทำให้เราประสบกับภาวะที่หวาดกลัว ไม่สุขสบายหรือมีความวิตกกังวล บางครั้งตื่นมาก็ยังมีอารมณ์ค้าง มีความหวาดกลัวหรือวิตกกังวล หากฝันร้ายเป็นประจำ ก็อาจทำให้คุณกลายเป็นคนที่มีบุคลิกหวาดกลัวและส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้

การนอนฝันร้าย ส่วนใหญ่จะเกิดในช่วงหลับลึกหรือ REM Sleep

ฝันร้ายส่งผลเสียกับร่างกายอย่างไรบ้าง

บางคนบอกว่าความฝันก็คือความฝัน ส่วนความจริงคือความจริงต้องแยกให้ออก บางครั้งถ้าคุณฝันร้ายบ่อยๆ ฝันร้ายเป็นประจำมันก็อาจส่งผลเสียต่อร่างกายของคุณได้ ดังนี้

  • ฝันร้ายติดต่อกันทำให้รู้สึกหวาดกลัววิตกกังวล 
  • ฝันร้ายบ่อยๆ ทำให้ไม่มีความสุขในการใช้ชีวิต 
  • นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ
  • ตื่นมาไม่สดชื่น รู้สึกง่วงบ่อย ง่วงนอนตลอดเวลา
  • ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า 
  • ป่วยเป็นโรคภัยไบโพร่า
  • ส่งผลให้มีอาการปวดหัวหลังจากตื่นนอน
ฝันร้ายบ่อย มีวิธีแก้ยังไงบ้าง

วิธีจัดการและป้องกันไม่ให้ฝันร้าย 

รู้หรือไม่ว่าเราสามารถจัดการและป้องกันไม่ให้ฝันร้ายได้ โดยแต่ละวิธีนั้นเป็นวิธีที่สามารถทำได้เองง่ายๆ จะเน้นที่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ซึ่งวิธีจัดการและป้องกันฝันร้าย มีดังนี้

1.ไม่ทานอาหารแล้วเข้านอนทันที 

ไม่ควรรับประทานอาหารหรือขนมแล้วเข้านอนทันที ควรเว้นระยะห่างสักพักก่อนเข้านอนจะได้ไม่ไปกระตุ้นให้สมองเกิดการตื่นตัวและทำให้เราฝันร้าย นอกจากนั้นก็ยังส่งผลดีต่อสุขภาพไม่ทำให้เป็นโรคอ้วนด้วย 

2.สร้างสุขลักษณะการนอนที่ดี 

การสร้างสุขลักษณะการนอนที่ดีนั้นจะทำให้เราไม่ฝันร้าย เริ่มต้นจากการเข้านอนและตื่นให้เป็นเวลา ไม่ออกกำลังกายช่วงใกล้เข้านอน ไม่ควรดูภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาน่ากลัวก่อนเข้านอน รวมถึงควรหลีกเลี่ยงการจ้องหน้าจอมือถือที่มีแสงสีฟ้า (Blue Light) ก่อนเข้านอนประมาณ 1 ชม. เพื่อให้สามารถนอนหลับได้ง่ายและหลับลึกขึ้น

3.ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 

คนที่นอนฝันร้ายทุกคืนมักเกิดจากความเครียดหรือความวิตกกังวล แนะนำให้ลองออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ก็จะสามารถช่วยป้องกันการเกิดฝันร้ายและทำให้นอนหลับสบายขึ้นได้ โดยอาจเลือกเล่นโยคะหรือทำสมาธิฝึกจิตใจให้สงบ 

4.จัดสภาพแวดล้อมในห้องนอนให้ดี 

ควรมีการจัดสภาพแวดล้อมในห้องนอนให้ดี เช่น การทำความสะอาดห้องนอน การจัดที่นอน จัดวางสิ่งของต่างๆ ในห้องนอนต้องดูโล่งโปร่งสบายตา ไม่รกรุงรังหรือมีข้าวของวางเกะกะ ก็จะช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้นขณะนอนหลับ และลดโอกาสฝันร้ายได้

นอนฝันร้ายทุกคืน แก้ได้ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมภายในห้องนอน

5.หลีกเลี่ยงสารกระตุ้น 

การดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีนหรือดื่มแอลกอฮอล์ จะเป็นตัวที่กระตุ้นให้นอนไม่หลับและเกิดฝันร้ายได้ เนื่องจากสารกระตุ้นทั้ง 2 อย่างสามารถตกค้างอยู่ในร่างกายได้นานกว่า 12 ชั่วโมง จึงมีผลรบกวนการนอนของเรานั่นเอง

6.ปรึกษาจิตแพทย์ 

หากใครมีปัญหานอนฝันบ่อยและลองใช้วิธีต่างๆ แล้วยังไม่ได้ผล อาจใช้วิธีแก้นอนฝันบ่อยด้วยการไปปรึกษาจิตแพทย์ เพราะสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งของฝันร้าย ก็คือสภาพจิตใจ ความเครียดหรือความวิตกกังวล ดังนั้นการปรึกษาแพทย์เพื่อหาแนวทางแก้ไขและรักษา จึงเป็นทางออกที่ดีที่สุด

7.ใช้จินตนาการบำบัด 

การบำบัดด้วยจินตนาการ คือการบำบัดความเครียดและพฤติกรรม เหมาะกับคนที่ฝันร้ายซ้ำๆ หรือผู้ป่วยที่มีภาวะเครียดหรือเคยประสบกับเหตุการณ์สะเทือนขวัญ อย่างไรก็ตามวิธีนี้ควรรักษาร่วมกับการรับประทานยา

8.ทานอาหารเสริมช่วยนอนหลับ ZNIGHT

การทานอาหารเสริมช่วยนอนหลับ ถือเป็นอีกวิธีรับมือกับปัญหาฝันร้ายที่ได้รับความนิยม เพราะเป็นวิธีที่ทำได้ง่าย สะดวกรวดเร็ว และเป็นการบำรุงร่างกายจากภายใน โดยอาหารเสริมช่วยนอนหลับอย่าง ZNIGHT จาก Sashii Brand นั้นจะอุดมไปด้วยสารอาหารและวิตามินที่ดีต่อการนอนหลับ เช่น สารสกัดจากโสม ใบแปะก๊วย ดอกคาโมมายล์ หรือโพรโพลิส ฯลฯ ที่จะช่วยให้สุขภาพการนอนดีขึ้น ช่วยปรับสมดุลคลื่นสมอง ช่วยผ่อนคลายความเครียดและความเหนื่อยล้า ทำให้ไม่นอนฝันร้าย หลับลึกหลับสนิทตลอดคืน

อาหารเสริมซาชิซีไนท์

การนอนหลับแล้วฝันตอนกลางคืน โดยเฉพาะ ฝันร้าย ที่หลายคนอาจจะมองว่าเป็นเรื่องปกติ แต่ความเป็นจริงแล้วการนอนฝันร้ายนั้นถือเป็นปัญหาการนอนหลับอย่างหนึ่ง ที่ไม่ควรมองข้ามและต้องหาทางแก้ไข เพื่อไม่ให้ส่งผลเสียต่อสุขภาพการนอนและการใช้ชีวิตประจำวัน โดยสามารถป้องกันและแก้ไขได้ด้วยการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต หลีกเลี่ยงปัจจัยที่จะกระตุ้นให้เกิดความเครียดหรือความวิตกกังวล ควบคู่ไปกับการทานอาหารเสริมช่วยนอนหลับอย่าง Sashii ZNIGHT ก็จะเป็นการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการนอนหลับ และลดโอกาสในการนอนฝันร้ายได้

👉 คลิกดูข้อมูลเพิ่มเติม : อาหารเสริมช่วยในการนอนหลับ SASHII ZNIGHT